วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทความที่ 4 ขั้นตอนการทำแอนิเมชัน



บทความที่ 4

 ขั้นตอนการทำแอนิเมชัน

หลักการสร้างงาน Animation
แอนิเมชัน (Animation) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Anima” แปลว่าวิญญาณหรือลม
หายใจ ดังนั้นคำว่า Animation จึงหมายความว่า การทำให้มีชีวิตจิตใจ และเมื่อนึกถึงแอนิเมชัน คน
ส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึงการ์ตูนแอนิเมชัน ซึ่งถือเป็นการนำภาพวาดการ์ตูนมาทำให้มีชีวิตชีวา สามารถ
เคลื่อนไหวได้เหมือนมีชีวิตจริง
การสร้างงานแอนิเมชันคือการนำภาพนิ่งหลายๆภาพมาวางเรียงต่อกัน ซึ่งในภาพแต่ละภาพ
ที่วางเรียงต่อกันนั้นจะมีลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในภาพทีละน้อย แล้วเมื่อนำภาพเหล่านั้นมา
เล่นภาพทีละภาพอย่างต่อเนื่องจะทำให้เหมือนว่าภาพเหล่านั้นสามารถเคลื่อนไหวได้
ขั้นตอนหลักในการสร้างการ์ตูนแอนิเมชัน มักอาศัยขั้นตอนการทำงานหลัก 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production)
2. ขั้นตอนการผลิต (Production)
3. ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-Production)
การทำงานในแต่ละขั้นตอนจะมีรายละเอียดในการทำงานที่แตกต่างกันไป สามารถอธิบาย
ภาพรวมการทำงานในแต่ละขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production) หรือขั้นตอนการเตรียมงาน เป็นขั้นตอนสำหรับการ
เตรียมสร้างงานแอนิเมชัน เริ่มตั้งแต่การเตรียมเนื้อเรื่องให้เป็นภาพคร่าวๆ การวางแผนกลยุทธ์ การ
เตรียมงบประมาณและทรัพยากรต่างๆที่ต้องใช้ในการทำงาน การวางคอนเซ็ปต์(Concept) และการ
พัฒนาแนวคิด(Idea) การวางหัวข้อเรื่อง(Outline a topic) การกำหนดเรื่องราว(Storyline) การเขียน
สคริปต์ การออกแบบลักษณะของตัวละคร(Character Design) การวาดการ์ตูน(Drawing) การ
กำหนดทิศทางของศิลปะ(Art Direction) การสร้างสตอรี่บอร์ด(Storyboard) เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอน
การเตรียมทุกสิ่งสำหรับนำมาใช้ในการสร้างงานแอนิเมชันจริงๆ ซึ่งขั้นตอนการเตรียมงานนี้จะได้
ภาพของเรื่องที่จะทำออกมาชัดเจนในระดับหนึ่ง ชิ้นงานสุดท้ายที่ได้ออกมามักจะเป็นสตอรี่บอร์ด
สำหรับนำไปใช้ทำงานในขั้นตอนต่อไป

 2. ขั้นตอนการผลิต (Production) เป็นขั้นตอนการเริ่มลงมือทำงานแอนิเมชันจาก Storyboard ที่
เตรียมไว้ก่อนหน้านี้ จากขั้นตอนการเตรียมงาน เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตซึ่งจะเริ่มจากการจัดวาง
Layout โดยการทำแอนิเมติก(Create an animatic)* การเตรียมและทดสอบเสียง(Sound & Testing)
การกำหนดหลักการเคลื่อนไหวของตัวละครและภาพ ไปจนถึงการทำแอนิเมชันส่วนต่างๆ จนครบ
หมดทั้งเรื่อง หลังจากเสร็จขั้นตอนนี้ เราก็จะได้การ์ตูนแอนิเมชันเต็มๆหนึ่งเรื่อง ที่พร้อมจะนำไปตัด
ต่อ ตกแต่ง แก้ไขเสียง และนำไปเผยแพร่ต่อไป
 * การทำแอนิเมติก คือการนำภาพวาดตามแนวความคิดสร้างสรรค์มาประกอบกันเข้าเป็น
เรื่องราว สามารถสื่อแนวความคิดหลักใหญ่ๆ ในเรื่องได้ การทำแอนิเมติกจะทำให้นักสร้างสรรค์
สามารถทบทวนแนวความคิก กรอบเวลาและการดำเนินเรื่องราวอย่างมีเหตุผลและต่อเนื่องได้

 3. ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-Production) เป็นขั้นตอนการปรับแต่งเสียง การใส่Preloader ใส่
Title และ Credit ใส่ปุ่มหยุด หรือการเล่นซ้ำ การนำเสนองานในรูปแบบอินเตอร์เน็ตหรือการ
นำเสนอในรูปแบบไฟล์วีดีโอ ซงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ถือว่างานที่ได้จากขั้นตอน
นี้จะเป็นงานแอนิเมชันที่เสร็จสมบูรณ์ทั้งภาพและเสียงพร้อมจะนำไปใช้งานจริง
 จากขั้นตอนการทำงานทั้ง 3 ขั้นตอนที่ได้กล่าวมานั้นมีรายละเอียด และเนื้อหาสำหรับการ
ทำงานที่แตกต่างกันไปซึ่งจะขออธิบายแยกเป็นหัวข้อต่างๆต่อไป บรรณานุกรม
ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production) หรือขั้นตอนการเตรียมงานเพื่อใช้ในการสร้างงาน
แอนิเมชัน มีส่วนประกอบหลายอย่างที่ต้องเตรียมดังนี้
1. การเขียนบทการ์ตูน
ความสำคัญของบทการ์ตูน
 เป็นสิ่งแรกที่จะต้องทำในการสร้างการ์ตูนAnimation เพื่อเป็นการกำหนดทิศทาง
และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำงานขั้นต่อไปตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น การออกแบบตัวละคร การ
ออกแบบฉาก เป็นต้น
หลักในการเขียนบทการ์ตูน มี 6 ส่วนคือ
1. เลือกประเภทการ์ตูน คือการกำหนดประเภทหรือสไตล์ของการ์ตูนที่เราต้องการว่าจะ
ให้เป็นการ์ตูนแนวไหน เช่น การ์ตูนแอคชั่น การ์ตูนตลก การ์ตูนเกี่ยวกับกีฬา การ์ตูนแนว
วิทยาศาสตร์ การ์ตูนย้อนยุค การ์ตูนล้ำยุค หรืออาจจะเป็นหลายๆแนวผสมผสานกันไปก็ได้
2. วางเป้าหมายในการเขียนการ์ตูน คือการบอกประเด็นหลักของเรื่องที่เราต้องการสื่อ
หรือถ่ายทอดให้ผู้ที่ได้ดูการ์ตูนของเราได้รับรู้ เข้าใจ หรือมีทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่งกับการ์ตูนของ
เรา เช่น อยากให้เด็กได้รู้ถึงความกตัญญูกตเวที ให้ผู้ชมรู้ถึงวิธีการลดมลภาวะ ให้ผู้ชมซาบซึ้งกับ
มิตรภาพความเป็นเพื่อน หรือให้ได้ตลกขบขันหลังจากที่ดูการ์ตูนจบแล้ว เป็นต้น จากนั้นจึงลงมือ
เขียนบทเพื่อให้สอดคล้องหรือมุ่งไปยังเป้าหมายที่เรากำหนดไว้
3. ผูกเรื่องให้ตรงเป้าหมาย คือการวางเนื้อหาเรื่องเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
เช่น เป้าหมายคือ สอนให้เด็กชอบกินผัก ดังนั้นจึงต้องสร้างเรื่องราวขึ้นมาเพื่อให้เด็กที่ดูการ์ตูนแล้ว
อยากกินผัก หรือรู้ว่ากินผักแล้วจะแข็งแรง ตัวอย่างเช่นการ์ตูนเรื่องป๊อปอาย ที่ผู้เขียนให้ตัวเอกกินผัก
โขม และเมื่อกินผักโขมแล้วจะแข็งแรง มีพลังสามารถต่อสู้กับผู้ร้ายได้ เป็นต้น
4. วางโครงเรื่อง คือการกำหนดภาพรวมและทิศทางของเรื่อง ว่าจะมีลำดับเหตุการณ์
อะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่ยังไม่ลงรายละเอียดมา เปรียบเสมือนการเล่าเรื่องโดยย่อว่าจะมีใครทำอะไร กับ
ใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ และมีบทสรุปเป็นอย่างไร ซึ่งโครงเรื่องจะเป็นเหมือนกรอบหรือขอบเขตของ
ลำดับความคิดเพื่อให้สามารถมุ่งไปยังเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้
5. กำหนดรายละเอียดให้กับตัวละคร คือ เมื่อวางโครงเรื่องแล้วเราจะได้ตัวละครที่ต้อง
ให้ ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดรายละเอียดของตัวละครเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างตัวละคร
ต่อไป
รายละเอียดของตัวละครที่เราจะกำหนดให้ขึ้นเช่น สถานะของตัวละคร (พระเอก,
นางเอก,ผู้ร้าย,ผู้ช่วยนางเอก,ตัวประกอบ เป็นต้น) การเป็นคน หรือสัตว์ ชื่อ เพศ อายุ ความสูง
น้ำหนัก นิสัย สิ่งที่ชอบ สิ่งที่เกลียด ความสามารถพิเศษ ปมด้อย ฯลฯ
6. การใส่รายละเอียดของเรื่อง คือการเขียนลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องโดยละเอียด
ทั้งคำพูด การกระทำ สีหน้า ท่าทาง โดยแยกลำดับขั้นตอนออกเป็น
- เกริ่นนำเรื่อง คือการบรรยายให้ผู้ชมได้รู้ข้อมูลพื้นฐานหรือความเป็นมาของเรื่องก่อน
- เนื้อเรื่อง คือการบรรยายรายละเอียดของเรื่อง โดยเล่าอย่างมีลำดับขั้นตอนของ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยยึดโครงเรื่องเป็นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ
 * บอกข้อมูลเบื้องต้น คือ 1. ลำดับของฉาก 2. สถานที่ 3. ตัวละครในฉากนั้นๆ
 * เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉากนั้นๆ คือ 1. คำพูดหรือบทสนทนา 2. ข้อความ
อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉาก
- บทสรุป คือจุดจบของเรื่องราวทั้งหมด เน้นสร้างความเข้าใจให้ผู้ชมหรือฝากข้อคิด
เอาไว้โดยมุ่งไปที่เป้าหมายที่วางไว้
2. การออกแบบ
1. หลักการออกแบบตัวละคร
การออกแบบตัวละครควรออกแบบให้เหมาะสมกับรายละเอียดที่เคยกำหนดไว้โดย
มีการพิจารณาคือ
1. วัย (อายุ)
2. การแต่งกาย
3. การออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตนโดยมีอยู่ 3 ประเภทคือ เอกลักษณ์
ทางด้านรูปร่าง , เอกลักษณ์ด้านสีผิว และเอกลักษณ์ด้านลักษณะพิเศษ
2. หลักการออกแบบฉาก เพื่อให้ได้ส่วนประกอบของเรื่องที่ดีและน่าสนใจการ
ออกแบบฉากจึงทีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
1. เป็นสถานที่ไหน
2. เวลาใด
3. ในสถานที่นั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
แล้วจึงนำมาเป็นแนวทางในการวาดฉากประกอบเรื่อง
3. การเขียนสตอรี่บอร์ด (Story Board)
การเขียนสตอรี่บอร์ดคือการเขียน วาดภาพเพื่อถ่ายทอดจินตนาการจากบทการ์ตูน
ให้ออกมาเป็นลำดับภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบให้เป็นรูปธรรม ซึ่งสตอรี่บอร์ดจะช่วยให้
ทีมงานทุกคนได้เห็นภาพรวมของการ์ตูนได้ตรงกันและชัดเจนมากที่สุด เมื่อเราเขียน
สตอรี่บอร์ดเสร็จแล้ว จะนำสตอรี่บอร์ดที่ได้ไปใช้ในขั้นตอนการทำการเคลื่อนไหว
ให้กับตัวละคร
กระดาษสตอรี่บอร์ดที่ใช้ในการเขียน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1. ส่วนแสดงข้อมูลเบื้องต้น เช่น ชื่อเรื่อง, ตอน, ฉาก , หน้า เป็นต้น
2. กรอบแสดงข้อมูลภาพ คือกรอบสำหรับวาดภาพ วางตำแหน่งของการ์ตูน
เปรียบเสมือนการวางมุมกล้องของภาพยนตร์ ในแต่ละกรอบเราจะเรียกว่า Shot
หมายถึงภาพยนตร์ตอนหนึ่ง
3. กรอบสำหรับกรอกข้อมูลเสียง คือกรอบที่บอกถึงข้อมูลเสียงที่จะใช้ใน Shot
นั้นๆ ว่ามีเสียงอะไรบ้าง เช่น เสียงบรรยาย , เสียงตัวละครพูด , เสียงเพลง ,
เสียงดนตรีบรรเลง เสียง Sound Effect (FX)
ขั้นตอนการเขียนสตอรี่บอร์ด มี 2 ขั้นตอนคือ
1. การวาดภาพสเกต วางตำแหน่งตัวละคร
2. เขียนบอกข้อมูลเสียงใน Shot นั้น
ตัวอย่างกระดาษสตอรี่บอร์ด


4. การพากย์เสียง เพื่อให้ได้การ์ตูนที่สมบูรณ์การพากย์เสียงที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้อง
ไปกับสีหน้า ท่าทางของตัวละครก็จะทำให้ได้การ์ตูนที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หลักในการ
พากย์เสียง มีคุณสมบัติของการพากย์เสียงที่ดีคือ
1. เสียงมีพลัง
2. ชัดถ้อยชัดคำโดยการเปล่งเสียงให้ถูกต้องตามอักขระ
3. พากย์เสียงตามคาแร็คเตอร์ของตัวละครและแสดงอารมณ์ต่างๆ ผ่านเสียงได้




ฟังเพลงได้ที่นี่นะคะ ^^











บทความที่ 3 อธิบายแอนิเมชันต่างๆ

 บทความที่ 3
อธิบายเกี่ยวกับแอนิเมชันต่างๆ


เรื่องราวการผจญภัยบนมิตรภาพของเด็กจากสองฟากโลก ระหว่างพี่น้องชาวกะเหรี่ยง หน่อวา เด็กสาวผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และศิลปะการต่อสู้ จ่อเป เด็กชายที่สามารถสื่อสารกับธรรมชาติได้ด้วยการโขกหัว กับ แซม เด็กที่คลั่งใคล้ในอุปกรณ์ไฮเทค บุตรชายคนเดียวของประธานาธิบดีแห่งแคปิตัลสเตท แซมเดินทางมาเข้าร่วมค่ายลูกเสือโลกที่ประเทศไทย แต่ด้วยความหยิ่งและหลงตัวเองทำให้เขาหลงทางไปในป่าหมอกและตกอยู่ในอันตราย โชคดีที่กะเหรี่ยงสองพี่น้องมาพบเข้าแล้วช่วยเหลือไว้ ทั้งสามคนก็เริ่มสนิทและกลายเป็นเพื่อนกัน ในขณะนั้นเองมีสัญญาณเตือนภัยจากท้องฟ้า แม่หมอ ผู้ทำหน้าที่พยากรณ์ประจำหมู่บ้าน เสี่ยงทายและบอกกับทุกคนให้รู้ว่า มหันตภัยร้ายกำลังจะมาถ้าไม่มีใครยับยั้งมันได้โลกจะต้องถึงกาลวิบัติ เมื่อจ่เป และ หน่อวา เดินทางมาส่งแซม ออกจากป่าลึก สัญญาณเตือนภัยกลับดังขึ้นอีก จ่อเป และ หน่อวา รบเร้า แซม ให้พาไปที่ แคปิตัลสเตท ด้วย และที่นั่นเด็กๆทั้งสามร่วมใจกันฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อหยุดยั้งวิกฤติร้ายของโลกครั้งนี้ให้ได้
โดยแก่นแท้ของเรื่องราว จะมุ่งเน้นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน



เรื่องราวของเรมี่ (แพทตัน ออสวอลต์) ผู้ที่มีพรสวรรค์การทำอาหารเป็นเลิศแต่ดันเกิดมาเป็นหนู ที่อาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำใต้ภัตตาคารที่ดีที่สุดของฝรั่งเศส ความใฝ่ฝันที่ใหญ่เกินตัวของเขา คือการเป็นเชฟชื่อดังอย่าง "ออกัส กัสโต" ทำให้กลายมาเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเขา เมื่อสิ่งเหล่านั้นทำให้เขากลายเป็นหนูที่ดูแปลกประหลาดไปจากตัวอื่นๆ รวมทั้งพ่อของเขา ดีจาโก้ (ไบรอัน เดนนีฮี) ยังมองว่าความฝันของลูกตัวเองนั้นเป็นสิ่งประหลาด ในขณะเดียวกัน ลินกวินี (ลู โรมาโน่) ผู้ช่วยพ่อครัวที่เป็นพ่อครัวแต่ทำอาหารไม่ได้เรื่อง กับกำลังเจอปัญหาใหญ่ของตนเอง เมื่อถึงวันทดสอบอาหาร แล้วซุปของเขาทำท่าจะไม่ได้เรื่อง เมื่อเรมี่เห็นลินกวินีท่าไม่ดี เขาเลยลงมือช่วยทำซุป จนเป็นที่ถูกใจของนักวิจารณ์อาหาร จนลินกวินีได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ดูแลซุปทั้งๆที่เขาทำไม่เป็น...
เรมี่ไม่ชอบที่จะแทะเศษอาหารเหมือนกับหนูตัวอื่นๆ เขาจึงต้องเสี่ยงไปหาอาหารดีๆในภัตตาคารอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งที่อันตรายมีอยู่เต็มในภัตตาคาร จนกระทั่งพ่อครัวใหญ่จับตัวเรมี่ได้ จึงให้ลินกวินีนำไปทิ้ง เมื่อตัวหนึ่งมีพรสวรรค์กับคนหนึ่งที่อยากมีพรสวรรค์เจอกัน เรมี่มองลินกวินีอย่างมีความหวัง ขณะที่ลินกวินีกำลังพรรณนาถึงความไร้พรสวรรค์ของเขา เขาจึงพูดกับเรมี่ สื่อสารกันระหว่างคนกับหนู สิ่งที่ต้องประหลาดใจเมื่อลินกวินีรู้ว่าเรมี่รู้ภาษาคนเป็นได้ดี เมื่อหนูมีพรสวรรค์กับคนเป็นเชพไร้พรสวรรค์ได้จับมือร่วมมือกัน การสร้างสรรค์อาหารรสเลิศจึงบรรเจิดขึ้น




เหตุเกิดเมื่อนนทกไปเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์มีสิบหน้ายี่สิบมือตามคำพระนารายณ์ก่อนนั้นเมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว ได้ไปขอพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดา และตนไปตามสังหารนนทกในชาติหน้า หลังจากนั้น ทหารเอกทั้งห้า จึงเกิดตามกันไป ได้แก่ หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวรไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะ สุครีพ เกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคต เป็นลูกของพาลีที่เป็นพี่ของสุครีพ ชมพูพาน เกิดจากการชุบเลี้ยงของพระอินทร์ นิลพัท เป็นลูกของพระกาฬ ฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฑ์ได้เกิดศึกชิงนางสีดา จนไพร่พลฝ่ายยักษ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก และสุดท้าย ทศกัณฑ์เองก็ถูกพระรามฆ่าตายเช่นเดียวกัน


ฟังเพลงได้ที่นี่นะคะ^^


บทความที่ 2 ภาษาอังกฤษที่สนใจเกี่ยวกับแอนิเมชัน

     
                    บทความที่ 2
                   ภาษาอังกฤษที่สนใจเกี่ยวกับแอนิเมชัน


Animation is the rapid display of a sequence of images to create an illusion of movement. The most common method of presenting animation is as a motion picture or video program, although there are other methods. This type of presentation is usually accomplished with a camera and a projector or a computerviewing screen which can rapidly cycle through images in a sequence. Animation can be made with either hand rendered art, computer generated imagery, or three-dimensional objects, e.g., puppets or clay figures, or a combination of techniques. The position of each object in any particular image relates to the position of that object in the previous and following images so that the objects each appear to fluidly move independently of one another. The viewing device displays these images in rapid succession, usually 24, 25, or 30 frames per second.


ฟังเพลงได้ที่นี่นะคะ^^

Animation หมายถึงอะไร ?

Animation…
บทความที่ 1
แอนิเมชัน หมายถึงอะไร?

แอนิเมชัน  หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง


การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือ คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย  ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด หรือ สตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา
 


                        ฟังเพลงได้ที่นี่นะคะ^^



วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาววันวิสาข์   ฤทธิ์สำเร็จ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 
โรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ"
ชื่อเล่น หวาน
ฉายา เป็ด
บ้านเลขที่ 41/4 หมู่6 ต.บางยาง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซอย 18 ถนนประชาร่วมใจ ๑ 
หมู่บ้านปลายคลองวัดท่ากระบือ
โทรศัพท์   : 082-3564860 - 086-9722092
E-mail     : chum2540@hotmail.co.th
Facebook : วันวิสาข์  ฤทธิ์สำเร็จ
G-mail    : chum2540@gmail.com
สถานะ โสด
สีที่ชอบ สีส้ม สีแดง สฟ้า สีน้ำเงิน
เพื่อนสนิท นางสาวณัฐชยา  มารุ่งเรือง (ผักกาด)
กิจกรรมยามว่าง เล่นคอมพิวเตอร์ ดูทีวี ฟังเพลง นอน
คุณครูที่ชื่นชอบ ครูองุ่น  หินทอง
ครูที่ปรึกษา ครูขวัญฤทัย  ทั่งเหล็ก





CAPTCHA






CAPTCHA

คือ  การทดสอบเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แบบโต้ตอบชนิดหนึ่ง  เพื่อทดสอบว่าผู้ใช้งานเป็นมนุษย์จริงหรือไม่ว่าไม่ใช่บอต  หรือ  โปรแกรมอัตโนมัติ)  คำว่า  CAPTCHA  ย่อมาจาก  "Completely Automated Public Turing test to tell Computers and  Humans Apart" (การทดสอบของทัวริงสาธารณะแบบอัตโนมัติเพื่อแยกแยะว่าเป็นคอมพิวเตอร์กับมนุษย์อย่างสมบูรณ์)  เป็นเครื่องหมายการค้าของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน  สหรัฐอเมริกา  คิดค้นขึ้นใน ปี ค.ศ. 2000  โดย  ลูอิส  วอน  อาห์น  (Luis von  Ahn)  แมนูล  บลัม  (Manuel Blum ) นิโคลัส  เจ. ฮอปเปอร์  (Nicholas J. Hopper)   และ  จอห์น  แลงฟอร์ด (John Langford)  (สามคนแรกมาจากมหาวิทยาลัย ส่วนคนสุดท้ายมาจากไอบีเอ็ม)

ระบบ  CAPTCHA  เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องแม่ข่าย  จะถามผู้ใช้งานด้วยการทดสอบอย่างหนึ่งที่สร้างขึ้นมา  และผู้ใช้จำเป็นต้องตอบให้ถูกต้องเพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบได้  แต่คอมพิวเตอร์เองนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตัวมันเองสร้างขึ้นได้   สามารถตรวจได้แค่ว่าถูกหรือผิดตามที่ระบุไว้ตอนต้นเท่านั้น ระบบ  CAPTCHA  โดยทั่วไปจะให้ผู้ใช้ตอบคำถามด้วยการกดแป้นตัวอักษรตามที่ปรากฏในรูปภาพที่บิดเบี้ยว  บางครั้งอาจมีการเพิ่มจุด  แถบสี  หรือเส้นหงิกงอลงในรูปภาพนั้น  เพื่อวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับของโปรแกรมประเภทโอซีอาร์  ซึ่งอาจแก้ปัญหาที่ทดสอบได้โดยอัตโนมัติ

บางครั้งมีการอธิบายระบบ  CAPTCHA  ว่าเป็นการทดสอบของทัวริงแบบย้อนกลับ   เพราะเป็นการทดสอบจากคอมพิวเตอร์ที่ส่งไปยังมนุษย์  ซึ่งในทางตรงข้าม  การทดสอบของทัวริงเป็นการทดสอบจากมนุษย์ที่ส่งไปยังคอมพิวเตอร์  หรือเครื่องจักรทัวริง

CAPTCHA  อาจใช้ในการตอบกลับฟอรั่มหรือเว็บบอร์ดสาธารณะทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต  ทั้งนี้เพื่อป้องกันบอตหรือโปรแกรมอัตโนมัติทำการส่งข้อความไม่พึงประสงค์   เช่น  สแปมหรือโฆษณา

รีวิวการใช้งานของโปรแกรม  CAPTCHA