ฟังเพลงเพราะๆได้ที่นี่นะจ๊ะ
วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ประวัติส่วนตัว
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาววันวิสาข์
ฤทธิ์สำเร็จ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
โรงเรียนกระทุ่มแบน
"วิเศษสมุทคุณ"
ชื่อเล่น หวาน
ฉายา เป็ด
บ้านเลขที่ 41/4 หมู่6 ต.บางยาง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซอย 18 ถนนประชาร่วมใจ ๑
หมู่บ้านปลายคลองวัดท่ากระบือ
E-mail : chum2540@hotmail.co.th
Facebook : วันวิสาข์ ฤทธิ์สำเร็จ
G-mail : chum2540@gmail.com
สถานะ โสด
สีที่ชอบ สีส้ม สีแดง สฟ้า สีน้ำเงิน
เพื่อนสนิท นางสาวณัฐชยา มารุ่งเรือง (ผักกาด)
เพื่อนสนิท นางสาวณัฐชยา มารุ่งเรือง (ผักกาด)
กิจกรรมยามว่าง เล่นคอมพิวเตอร์ ดูทีวี ฟังเพลง นอน
คุณครูที่ชื่นชอบ ครูองุ่น หินทอง
ครูที่ปรึกษา ครูขวัญฤทัย ทั่งเหล็ก
CAPTCHA

CAPTCHA
คือ การทดสอบเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แบบโต้ตอบชนิดหนึ่ง เพื่อทดสอบว่าผู้ใช้งานเป็นมนุษย์จริงหรือไม่ว่าไม่ใช่บอต หรือ โปรแกรมอัตโนมัติ) คำว่า CAPTCHA ย่อมาจาก "Completely Automated Public Turing test to tell Computers and Humans Apart" (การทดสอบของทัวริงสาธารณะแบบอัตโนมัติเพื่อแยกแยะว่าเป็นคอมพิวเตอร์กับมนุษย์อย่างสมบูรณ์) เป็นเครื่องหมายการค้าของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน สหรัฐอเมริกา คิดค้นขึ้นใน ปี ค.ศ. 2000 โดย ลูอิส วอน อาห์น (Luis von Ahn) แมนูล บลัม (Manuel Blum ) นิโคลัส เจ. ฮอปเปอร์ (Nicholas J. Hopper) และ จอห์น แลงฟอร์ด (John Langford) (สามคนแรกมาจากมหาวิทยาลัย ส่วนคนสุดท้ายมาจากไอบีเอ็ม)
ระบบ CAPTCHA เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องแม่ข่าย จะถามผู้ใช้งานด้วยการทดสอบอย่างหนึ่งที่สร้างขึ้นมา และผู้ใช้จำเป็นต้องตอบให้ถูกต้องเพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบได้ แต่คอมพิวเตอร์เองนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตัวมันเองสร้างขึ้นได้ สามารถตรวจได้แค่ว่าถูกหรือผิดตามที่ระบุไว้ตอนต้นเท่านั้น ระบบ CAPTCHA โดยทั่วไปจะให้ผู้ใช้ตอบคำถามด้วยการกดแป้นตัวอักษรตามที่ปรากฏในรูปภาพที่บิดเบี้ยว บางครั้งอาจมีการเพิ่มจุด แถบสี หรือเส้นหงิกงอลงในรูปภาพนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับของโปรแกรมประเภทโอซีอาร์ ซึ่งอาจแก้ปัญหาที่ทดสอบได้โดยอัตโนมัติ
บางครั้งมีการอธิบายระบบ CAPTCHA ว่าเป็นการทดสอบของทัวริงแบบย้อนกลับ เพราะเป็นการทดสอบจากคอมพิวเตอร์ที่ส่งไปยังมนุษย์ ซึ่งในทางตรงข้าม การทดสอบของทัวริงเป็นการทดสอบจากมนุษย์ที่ส่งไปยังคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักรทัวริง
CAPTCHA อาจใช้ในการตอบกลับฟอรั่มหรือเว็บบอร์ดสาธารณะทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เพื่อป้องกันบอตหรือโปรแกรมอัตโนมัติทำการส่งข้อความไม่พึงประสงค์ เช่น สแปมหรือโฆษณา
รีวิวการใช้งานของโปรแกรม CAPTCHA
GPS

GPS
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือจีพีเอส คือ ระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก โดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งทราบตำแหน่ง ทำให้ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโล โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส รุ่นใหม่ๆ จะสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่ เพื่อใช้ในการนำทางได้
แนวคิดในการพัฒนาระบบจีพีเอส เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1957 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา นำโดย Dr. Richard B. Kershner ได้ติดตามการส่งดาวเทียมสปุตนิกของโซเวียต และพบปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ของคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียม พวกเขาพบว่าหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นผิวโลก ก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้จากการตรวจวัดดอปเปลอร์ และหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวเทียม ก็สามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้ ในทางกลับกัน
กองทัพเรือสหรัฐได้ทดลองระบบนำทางด้วยดาวเทียม ชื่อ TRANSIT เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1960 ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 5 ดวง ส่วนดาวเทียมที่ใช้ในระบบจีพีเอส (GPS Block-I) ส่งขึ้นทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1978 เพื่อใช้ในทางการทหาร
เมื่อ ค.ศ. 198 3 หลังจากเกิดเหตุการณ์โคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ของเกาหลีใต้ บินพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพโซเวียต และถูกยิงตก ผู้โดยสาร 269 คนเสียชีวิตทั้งหมด ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนได้ประกาศว่า เมื่อพัฒนาระบบจีพีเอสแล้วเสร็จ จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้งานได้
ดาวเทียมจีพีเอส เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง (Medium Earth Orbit: MEO) ที่ระดับความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร (12,600 ไมล์ หรือ 10,900 ไมล์ทะเล) จากพื้นโลก ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ที่ความเร็ว 4 กิโลเมตร/วินาที การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น 6 ระนาบๆ ละ 4 ดวง ทำมุม 55 องศา โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม 24 ดว ง หรือมากกว่ า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก ปัจจุบัน เป็นดาวเทียม GPS Block-II มีดาวเทียมสำรองประมาณ 4-6 ดวง
รีวิวระบบนำทางจีพีเอส
3G


3G
3 จี หรือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่ 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100
ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูง
1. พื้นฐาน ที่สามารถรองรับบริการต่างๆ เช่น บริการประจำที่ บริการเคลื่อนที่ สื่อสารด้วยเสียง รับส่ง ข้อมูล เข้าถึงอินเทอร์เน็ต มัลติมีเดีย จะต้องเป็นไปในทางเดียวกัน คือ สามารถโอนถ่าย ส่งต่อ ซึ่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมอื่นที่สามารถรับส่งข้อมูลได้
2. โครงข่ายข้ามแดน (Global Roaming) สามารถใช้อุปกรณ์เดียวในทุกพื้นที่ทั่วโลก
3. ความต่อเนื่องการสื่อสาร (Seamless Delivery Service) สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแม้จะมีการเคลื่อนที่แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานีรับส่งสัญญาณ
4. อัตราความเร็วการรับส่งข้อมูล (Transmission Rate)
4.1
ขณะประจำที่หรือความเร็วเท่าการเดินสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างน้อย 2 เมกะบิต/วินาที
4.2
ขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับยานพาหนะ สามารถรับส่งข้อมูลอย่างน้อย 384 กิโลบิต/วินาที
มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำ ไปพัฒนาต่อจากยุค 2G/2.5G/2.75G เพื่อเข้าสู่มาตรฐานยุค 3G ได้รับการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่มีการยอมรับใช้งานอย่างกว้างขวางทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) ซึ่งจะมีการพัฒนาต่อไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) สามารถสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง
14 เมกะบิต/วินาที เร็วกว่า 2.75G ประมาณ 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA ได้รับการยอมรับจากบริษัท NTT DoCoMo ของประเทศญี่ปุ่นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode เปลี่ยนเป็นมาตรฐาน 3G ภายใต้เครื่องหมายการค้า FOMA โดยเปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. 2544 ปัจจุบัน W-CDMA เป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
W-CDMA หรือ WCDMA (Wideband Code-Division Multiple Access) เป็นมาตรฐานหนึ่งในระบบการสื่อสารแบบไร้สาย ภายใต้ IMT-2000 มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ อุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย ด้วยความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูล ภาพ เสียง หรือ รูปแบบวิดีโอ ด้วยความเร็วสูง 2 เมกะบิต/วินาที
การนำเสอนระบบ 3G
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)