วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

GPS



GPS 

          ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือจีพีเอส  คือ  ระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก  โดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งทราบตำแหน่ง  ทำให้ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง  ณ  จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโล  โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส  รุ่นใหม่ๆ  จะสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่  เพื่อใช้ในการนำทางได้

          แนวคิดในการพัฒนาระบบจีพีเอส  เริ่มต้นตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1957  เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา  นำโดย  Dr. Richard B. Kershner  ได้ติดตามการส่งดาวเทียมสปุตนิกของโซเวียต  และพบปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ของคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียม  พวกเขาพบว่าหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นผิวโลก  ก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้จากการตรวจวัดดอปเปลอร์  และหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวเทียม  ก็สามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้ ในทางกลับกัน

          กองทัพเรือสหรัฐได้ทดลองระบบนำทางด้วยดาวเทียม  ชื่อ  TRANSIT  เป็นครั้งแรกเมื่อ  ค.ศ. 1960  ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน  5  ดวง  ส่วนดาวเทียมที่ใช้ในระบบจีพีเอส  (GPS Block-I)  ส่งขึ้นทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ  ค.ศ. 1978  เพื่อใช้ในทางการทหาร

          เมื่อ  ค.ศ. 198 3 หลังจากเกิดเหตุการณ์โคเรียนแอร์ไลน์  เที่ยวบินที่  007  ของเกาหลีใต้  บินพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพโซเวียต  และถูกยิงตก  ผู้โดยสาร  269  คนเสียชีวิตทั้งหมด ประธานาธิบดีโรนัลด์  เรแกนได้ประกาศว่า  เมื่อพัฒนาระบบจีพีเอสแล้วเสร็จ  จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้งานได้

ดาวเทียมจีพีเอส  เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง  (Medium Earth Orbit: MEO)  ที่ระดับความสูงประมาณ  20,200  กิโลเมตร  (12,600  ไมล์  หรือ  10,900  ไมล์ทะเล)  จากพื้นโลก  ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย   4 ดวง  ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา  12  ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ  ที่ความเร็ว  4  กิโลเมตร/วินาที  การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น  6  ระนาบๆ ละ  4  ดวง  ทำมุม  55  องศา  โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม  24  ดว ง หรือมากกว่ า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก  ปัจจุบัน  เป็นดาวเทียม  GPS Block-II  มีดาวเทียมสำรองประมาณ  4-6  ดวง


รีวิวระบบนำทางจีพีเอส



รีวิวระบบทำงานจีพีเอสใช้ได้จริง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น