วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาววันวิสาข์   ฤทธิ์สำเร็จ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 
โรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ"
ชื่อเล่น หวาน
ฉายา เป็ด
บ้านเลขที่ 41/4 หมู่6 ต.บางยาง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซอย 18 ถนนประชาร่วมใจ ๑ 
หมู่บ้านปลายคลองวัดท่ากระบือ
โทรศัพท์   : 082-3564860 - 086-9722092
E-mail     : chum2540@hotmail.co.th
Facebook : วันวิสาข์  ฤทธิ์สำเร็จ
G-mail    : chum2540@gmail.com
สถานะ โสด
สีที่ชอบ สีส้ม สีแดง สฟ้า สีน้ำเงิน
เพื่อนสนิท นางสาวณัฐชยา  มารุ่งเรือง (ผักกาด)
กิจกรรมยามว่าง เล่นคอมพิวเตอร์ ดูทีวี ฟังเพลง นอน
คุณครูที่ชื่นชอบ ครูองุ่น  หินทอง
ครูที่ปรึกษา ครูขวัญฤทัย  ทั่งเหล็ก





CAPTCHA






CAPTCHA

คือ  การทดสอบเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แบบโต้ตอบชนิดหนึ่ง  เพื่อทดสอบว่าผู้ใช้งานเป็นมนุษย์จริงหรือไม่ว่าไม่ใช่บอต  หรือ  โปรแกรมอัตโนมัติ)  คำว่า  CAPTCHA  ย่อมาจาก  "Completely Automated Public Turing test to tell Computers and  Humans Apart" (การทดสอบของทัวริงสาธารณะแบบอัตโนมัติเพื่อแยกแยะว่าเป็นคอมพิวเตอร์กับมนุษย์อย่างสมบูรณ์)  เป็นเครื่องหมายการค้าของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน  สหรัฐอเมริกา  คิดค้นขึ้นใน ปี ค.ศ. 2000  โดย  ลูอิส  วอน  อาห์น  (Luis von  Ahn)  แมนูล  บลัม  (Manuel Blum ) นิโคลัส  เจ. ฮอปเปอร์  (Nicholas J. Hopper)   และ  จอห์น  แลงฟอร์ด (John Langford)  (สามคนแรกมาจากมหาวิทยาลัย ส่วนคนสุดท้ายมาจากไอบีเอ็ม)

ระบบ  CAPTCHA  เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องแม่ข่าย  จะถามผู้ใช้งานด้วยการทดสอบอย่างหนึ่งที่สร้างขึ้นมา  และผู้ใช้จำเป็นต้องตอบให้ถูกต้องเพื่อให้สามารถเข้าสู่ระบบได้  แต่คอมพิวเตอร์เองนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตัวมันเองสร้างขึ้นได้   สามารถตรวจได้แค่ว่าถูกหรือผิดตามที่ระบุไว้ตอนต้นเท่านั้น ระบบ  CAPTCHA  โดยทั่วไปจะให้ผู้ใช้ตอบคำถามด้วยการกดแป้นตัวอักษรตามที่ปรากฏในรูปภาพที่บิดเบี้ยว  บางครั้งอาจมีการเพิ่มจุด  แถบสี  หรือเส้นหงิกงอลงในรูปภาพนั้น  เพื่อวัตถุประสงค์ในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับของโปรแกรมประเภทโอซีอาร์  ซึ่งอาจแก้ปัญหาที่ทดสอบได้โดยอัตโนมัติ

บางครั้งมีการอธิบายระบบ  CAPTCHA  ว่าเป็นการทดสอบของทัวริงแบบย้อนกลับ   เพราะเป็นการทดสอบจากคอมพิวเตอร์ที่ส่งไปยังมนุษย์  ซึ่งในทางตรงข้าม  การทดสอบของทัวริงเป็นการทดสอบจากมนุษย์ที่ส่งไปยังคอมพิวเตอร์  หรือเครื่องจักรทัวริง

CAPTCHA  อาจใช้ในการตอบกลับฟอรั่มหรือเว็บบอร์ดสาธารณะทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต  ทั้งนี้เพื่อป้องกันบอตหรือโปรแกรมอัตโนมัติทำการส่งข้อความไม่พึงประสงค์   เช่น  สแปมหรือโฆษณา

รีวิวการใช้งานของโปรแกรม  CAPTCHA




GPS



GPS 

          ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกหรือจีพีเอส  คือ  ระบบบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก  โดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งทราบตำแหน่ง  ทำให้ระบบนี้สามารถบอกตำแหน่ง  ณ  จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโล  โดยเครื่องรับสัญญาณจีพีเอส  รุ่นใหม่ๆ  จะสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางนำมาใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่  เพื่อใช้ในการนำทางได้

          แนวคิดในการพัฒนาระบบจีพีเอส  เริ่มต้นตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1957  เมื่อนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา  นำโดย  Dr. Richard B. Kershner  ได้ติดตามการส่งดาวเทียมสปุตนิกของโซเวียต  และพบปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ของคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวเทียม  พวกเขาพบว่าหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นผิวโลก  ก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมได้จากการตรวจวัดดอปเปลอร์  และหากทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวเทียม  ก็สามารถระบุตำแหน่งบนพื้นโลกได้ ในทางกลับกัน

          กองทัพเรือสหรัฐได้ทดลองระบบนำทางด้วยดาวเทียม  ชื่อ  TRANSIT  เป็นครั้งแรกเมื่อ  ค.ศ. 1960  ประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน  5  ดวง  ส่วนดาวเทียมที่ใช้ในระบบจีพีเอส  (GPS Block-I)  ส่งขึ้นทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ  ค.ศ. 1978  เพื่อใช้ในทางการทหาร

          เมื่อ  ค.ศ. 198 3 หลังจากเกิดเหตุการณ์โคเรียนแอร์ไลน์  เที่ยวบินที่  007  ของเกาหลีใต้  บินพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของสหภาพโซเวียต  และถูกยิงตก  ผู้โดยสาร  269  คนเสียชีวิตทั้งหมด ประธานาธิบดีโรนัลด์  เรแกนได้ประกาศว่า  เมื่อพัฒนาระบบจีพีเอสแล้วเสร็จ  จะอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปใช้งานได้

ดาวเทียมจีพีเอส  เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรระดับกลาง  (Medium Earth Orbit: MEO)  ที่ระดับความสูงประมาณ  20,200  กิโลเมตร  (12,600  ไมล์  หรือ  10,900  ไมล์ทะเล)  จากพื้นโลก  ใช้การยืนยันตำแหน่งโดยอาศัยพิกัดจากดาวเทียมอย่างน้อย   4 ดวง  ดาวเทียมจะโคจรรอบโลกเป็นเวลา  12  ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ  ที่ความเร็ว  4  กิโลเมตร/วินาที  การโคจรแต่ละรอบนั้นสามารถได้เป็น  6  ระนาบๆ ละ  4  ดวง  ทำมุม  55  องศา  โดยทั้งระบบจะต้องมีดาวเทียม  24  ดว ง หรือมากกว่ า เพื่อให้สามารถยืนยันตำแหน่งได้ครอบคลุมทุกจุดบนผิวโลก  ปัจจุบัน  เป็นดาวเทียม  GPS Block-II  มีดาวเทียมสำรองประมาณ  4-6  ดวง


รีวิวระบบนำทางจีพีเอส



รีวิวระบบทำงานจีพีเอสใช้ได้จริง


3G



3G

       3  จี  หรือ  มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่  3  เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่   ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่  ระบบโทรศัพท์  2G  ซึ่ง  3G  นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน  IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

          มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่  3  หรือที่เรียกว่า  ระบบ  UMTS  หรือ  W-CDMA  ในระบบ  GSM ใช้ช่วงความถี่ตั้งแต่  850 , 900 , 1800 , 1900  และ  2100  ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล  ใช้งานด้านมัลติมีเดีย  ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วที่สูง

มาตรฐาน  IMT-2000

1. พื้นฐาน  ที่สามารถรองรับบริการต่างๆ  เช่น  บริการประจำที่  บริการเคลื่อนที่  สื่อสารด้วยเสียง  รับส่ง  ข้อมูล  เข้าถึงอินเทอร์เน็ต  มัลติมีเดีย  จะต้องเป็นไปในทางเดียวกัน  คือ  สามารถโอนถ่าย  ส่งต่อ  ซึ่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมอื่นที่สามารถรับส่งข้อมูลได้
2. โครงข่ายข้ามแดน  (Global Roaming)  สามารถใช้อุปกรณ์เดียวในทุกพื้นที่ทั่วโลก
3. ความต่อเนื่องการสื่อสาร  (Seamless Delivery Service)  สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแม้จะมีการเคลื่อนที่แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานีรับส่งสัญญาณ
4. อัตราความเร็วการรับส่งข้อมูล  (Transmission Rate)
    4.1 ขณะประจำที่หรือความเร็วเท่าการเดินสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างน้อย  2  เมกะบิต/วินาที
    4.2 ขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับยานพาหนะ  สามารถรับส่งข้อมูลอย่างน้อย  384  กิโลบิต/วินาที
    4.3 ในทุกสภาพการใช้งาน มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลสูงสุด  14.4  เมกะบิต/วินาที

มาตรฐาน UMTS

          มาตรฐาน  UMTS  (Universal Mobile Telecommunications Services)  ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำ  ไปพัฒนาต่อจากยุค  2G/2.5G/2.75G  เพื่อเข้าสู่มาตรฐานยุค  3G  ได้รับการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร  3GPP  มีเทคโนโลยีหลักที่มีการยอมรับใช้งานอย่างกว้างขวางทั่วโลกคือมาตรฐาน  Wideband Code Division Multiple Access  (W-CDMA)  ซึ่งจะมีการพัฒนาต่อไปสู่มาตรฐาน  HSDPA (High Speed Downlink Packet Access)  สามารถสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิต/วินาที  เร็วกว่า  2.75G  ประมาณ  36  เท่า  มาตรฐาน  W-CDMA  ได้รับการยอมรับจากบริษัท  NTT DoCoMo  ของประเทศญี่ปุ่นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่  I-mode  เปลี่ยนเป็นมาตรฐาน  3G  ภายใต้เครื่องหมายการค้า  FOMA  โดยเปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544  ปัจจุบัน  W-CDMA  เป็นเครือข่าย  3G  ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

มาตรฐาน W-CDMA

          W-CDMA  หรือ  WCDMA  (Wideband Code-Division Multiple Access)  เป็นมาตรฐานหนึ่งในระบบการสื่อสารแบบไร้สาย  ภายใต้  IMT-2000  มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย  เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่  หรือ  อุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สาย  ด้วยความเร็วสูง  สามารถรับส่งข้อมูล  ภาพ  เสียง หรือ  รูปแบบวิดีโอ  ด้วยความเร็วสูง  2  เมกะบิต/วินาที 

การนำเสอนระบบ 3G