วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทความที่ 4 ขั้นตอนการทำแอนิเมชัน



บทความที่ 4

 ขั้นตอนการทำแอนิเมชัน

หลักการสร้างงาน Animation
แอนิเมชัน (Animation) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “Anima” แปลว่าวิญญาณหรือลม
หายใจ ดังนั้นคำว่า Animation จึงหมายความว่า การทำให้มีชีวิตจิตใจ และเมื่อนึกถึงแอนิเมชัน คน
ส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึงการ์ตูนแอนิเมชัน ซึ่งถือเป็นการนำภาพวาดการ์ตูนมาทำให้มีชีวิตชีวา สามารถ
เคลื่อนไหวได้เหมือนมีชีวิตจริง
การสร้างงานแอนิเมชันคือการนำภาพนิ่งหลายๆภาพมาวางเรียงต่อกัน ซึ่งในภาพแต่ละภาพ
ที่วางเรียงต่อกันนั้นจะมีลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในภาพทีละน้อย แล้วเมื่อนำภาพเหล่านั้นมา
เล่นภาพทีละภาพอย่างต่อเนื่องจะทำให้เหมือนว่าภาพเหล่านั้นสามารถเคลื่อนไหวได้
ขั้นตอนหลักในการสร้างการ์ตูนแอนิเมชัน มักอาศัยขั้นตอนการทำงานหลัก 3 ขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production)
2. ขั้นตอนการผลิต (Production)
3. ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-Production)
การทำงานในแต่ละขั้นตอนจะมีรายละเอียดในการทำงานที่แตกต่างกันไป สามารถอธิบาย
ภาพรวมการทำงานในแต่ละขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production) หรือขั้นตอนการเตรียมงาน เป็นขั้นตอนสำหรับการ
เตรียมสร้างงานแอนิเมชัน เริ่มตั้งแต่การเตรียมเนื้อเรื่องให้เป็นภาพคร่าวๆ การวางแผนกลยุทธ์ การ
เตรียมงบประมาณและทรัพยากรต่างๆที่ต้องใช้ในการทำงาน การวางคอนเซ็ปต์(Concept) และการ
พัฒนาแนวคิด(Idea) การวางหัวข้อเรื่อง(Outline a topic) การกำหนดเรื่องราว(Storyline) การเขียน
สคริปต์ การออกแบบลักษณะของตัวละคร(Character Design) การวาดการ์ตูน(Drawing) การ
กำหนดทิศทางของศิลปะ(Art Direction) การสร้างสตอรี่บอร์ด(Storyboard) เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอน
การเตรียมทุกสิ่งสำหรับนำมาใช้ในการสร้างงานแอนิเมชันจริงๆ ซึ่งขั้นตอนการเตรียมงานนี้จะได้
ภาพของเรื่องที่จะทำออกมาชัดเจนในระดับหนึ่ง ชิ้นงานสุดท้ายที่ได้ออกมามักจะเป็นสตอรี่บอร์ด
สำหรับนำไปใช้ทำงานในขั้นตอนต่อไป

 2. ขั้นตอนการผลิต (Production) เป็นขั้นตอนการเริ่มลงมือทำงานแอนิเมชันจาก Storyboard ที่
เตรียมไว้ก่อนหน้านี้ จากขั้นตอนการเตรียมงาน เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตซึ่งจะเริ่มจากการจัดวาง
Layout โดยการทำแอนิเมติก(Create an animatic)* การเตรียมและทดสอบเสียง(Sound & Testing)
การกำหนดหลักการเคลื่อนไหวของตัวละครและภาพ ไปจนถึงการทำแอนิเมชันส่วนต่างๆ จนครบ
หมดทั้งเรื่อง หลังจากเสร็จขั้นตอนนี้ เราก็จะได้การ์ตูนแอนิเมชันเต็มๆหนึ่งเรื่อง ที่พร้อมจะนำไปตัด
ต่อ ตกแต่ง แก้ไขเสียง และนำไปเผยแพร่ต่อไป
 * การทำแอนิเมติก คือการนำภาพวาดตามแนวความคิดสร้างสรรค์มาประกอบกันเข้าเป็น
เรื่องราว สามารถสื่อแนวความคิดหลักใหญ่ๆ ในเรื่องได้ การทำแอนิเมติกจะทำให้นักสร้างสรรค์
สามารถทบทวนแนวความคิก กรอบเวลาและการดำเนินเรื่องราวอย่างมีเหตุผลและต่อเนื่องได้

 3. ขั้นตอนหลังการผลิต (Post-Production) เป็นขั้นตอนการปรับแต่งเสียง การใส่Preloader ใส่
Title และ Credit ใส่ปุ่มหยุด หรือการเล่นซ้ำ การนำเสนองานในรูปแบบอินเตอร์เน็ตหรือการ
นำเสนอในรูปแบบไฟล์วีดีโอ ซงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ถือว่างานที่ได้จากขั้นตอน
นี้จะเป็นงานแอนิเมชันที่เสร็จสมบูรณ์ทั้งภาพและเสียงพร้อมจะนำไปใช้งานจริง
 จากขั้นตอนการทำงานทั้ง 3 ขั้นตอนที่ได้กล่าวมานั้นมีรายละเอียด และเนื้อหาสำหรับการ
ทำงานที่แตกต่างกันไปซึ่งจะขออธิบายแยกเป็นหัวข้อต่างๆต่อไป บรรณานุกรม
ขั้นตอนก่อนการผลิต (Pre-Production) หรือขั้นตอนการเตรียมงานเพื่อใช้ในการสร้างงาน
แอนิเมชัน มีส่วนประกอบหลายอย่างที่ต้องเตรียมดังนี้
1. การเขียนบทการ์ตูน
ความสำคัญของบทการ์ตูน
 เป็นสิ่งแรกที่จะต้องทำในการสร้างการ์ตูนAnimation เพื่อเป็นการกำหนดทิศทาง
และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำงานขั้นต่อไปตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น การออกแบบตัวละคร การ
ออกแบบฉาก เป็นต้น
หลักในการเขียนบทการ์ตูน มี 6 ส่วนคือ
1. เลือกประเภทการ์ตูน คือการกำหนดประเภทหรือสไตล์ของการ์ตูนที่เราต้องการว่าจะ
ให้เป็นการ์ตูนแนวไหน เช่น การ์ตูนแอคชั่น การ์ตูนตลก การ์ตูนเกี่ยวกับกีฬา การ์ตูนแนว
วิทยาศาสตร์ การ์ตูนย้อนยุค การ์ตูนล้ำยุค หรืออาจจะเป็นหลายๆแนวผสมผสานกันไปก็ได้
2. วางเป้าหมายในการเขียนการ์ตูน คือการบอกประเด็นหลักของเรื่องที่เราต้องการสื่อ
หรือถ่ายทอดให้ผู้ที่ได้ดูการ์ตูนของเราได้รับรู้ เข้าใจ หรือมีทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่งกับการ์ตูนของ
เรา เช่น อยากให้เด็กได้รู้ถึงความกตัญญูกตเวที ให้ผู้ชมรู้ถึงวิธีการลดมลภาวะ ให้ผู้ชมซาบซึ้งกับ
มิตรภาพความเป็นเพื่อน หรือให้ได้ตลกขบขันหลังจากที่ดูการ์ตูนจบแล้ว เป็นต้น จากนั้นจึงลงมือ
เขียนบทเพื่อให้สอดคล้องหรือมุ่งไปยังเป้าหมายที่เรากำหนดไว้
3. ผูกเรื่องให้ตรงเป้าหมาย คือการวางเนื้อหาเรื่องเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
เช่น เป้าหมายคือ สอนให้เด็กชอบกินผัก ดังนั้นจึงต้องสร้างเรื่องราวขึ้นมาเพื่อให้เด็กที่ดูการ์ตูนแล้ว
อยากกินผัก หรือรู้ว่ากินผักแล้วจะแข็งแรง ตัวอย่างเช่นการ์ตูนเรื่องป๊อปอาย ที่ผู้เขียนให้ตัวเอกกินผัก
โขม และเมื่อกินผักโขมแล้วจะแข็งแรง มีพลังสามารถต่อสู้กับผู้ร้ายได้ เป็นต้น
4. วางโครงเรื่อง คือการกำหนดภาพรวมและทิศทางของเรื่อง ว่าจะมีลำดับเหตุการณ์
อะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่ยังไม่ลงรายละเอียดมา เปรียบเสมือนการเล่าเรื่องโดยย่อว่าจะมีใครทำอะไร กับ
ใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ และมีบทสรุปเป็นอย่างไร ซึ่งโครงเรื่องจะเป็นเหมือนกรอบหรือขอบเขตของ
ลำดับความคิดเพื่อให้สามารถมุ่งไปยังเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้
5. กำหนดรายละเอียดให้กับตัวละคร คือ เมื่อวางโครงเรื่องแล้วเราจะได้ตัวละครที่ต้อง
ให้ ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดรายละเอียดของตัวละครเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างตัวละคร
ต่อไป
รายละเอียดของตัวละครที่เราจะกำหนดให้ขึ้นเช่น สถานะของตัวละคร (พระเอก,
นางเอก,ผู้ร้าย,ผู้ช่วยนางเอก,ตัวประกอบ เป็นต้น) การเป็นคน หรือสัตว์ ชื่อ เพศ อายุ ความสูง
น้ำหนัก นิสัย สิ่งที่ชอบ สิ่งที่เกลียด ความสามารถพิเศษ ปมด้อย ฯลฯ
6. การใส่รายละเอียดของเรื่อง คือการเขียนลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องโดยละเอียด
ทั้งคำพูด การกระทำ สีหน้า ท่าทาง โดยแยกลำดับขั้นตอนออกเป็น
- เกริ่นนำเรื่อง คือการบรรยายให้ผู้ชมได้รู้ข้อมูลพื้นฐานหรือความเป็นมาของเรื่องก่อน
- เนื้อเรื่อง คือการบรรยายรายละเอียดของเรื่อง โดยเล่าอย่างมีลำดับขั้นตอนของ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยยึดโครงเรื่องเป็นพื้นฐาน มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ
 * บอกข้อมูลเบื้องต้น คือ 1. ลำดับของฉาก 2. สถานที่ 3. ตัวละครในฉากนั้นๆ
 * เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉากนั้นๆ คือ 1. คำพูดหรือบทสนทนา 2. ข้อความ
อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฉาก
- บทสรุป คือจุดจบของเรื่องราวทั้งหมด เน้นสร้างความเข้าใจให้ผู้ชมหรือฝากข้อคิด
เอาไว้โดยมุ่งไปที่เป้าหมายที่วางไว้
2. การออกแบบ
1. หลักการออกแบบตัวละคร
การออกแบบตัวละครควรออกแบบให้เหมาะสมกับรายละเอียดที่เคยกำหนดไว้โดย
มีการพิจารณาคือ
1. วัย (อายุ)
2. การแต่งกาย
3. การออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตนโดยมีอยู่ 3 ประเภทคือ เอกลักษณ์
ทางด้านรูปร่าง , เอกลักษณ์ด้านสีผิว และเอกลักษณ์ด้านลักษณะพิเศษ
2. หลักการออกแบบฉาก เพื่อให้ได้ส่วนประกอบของเรื่องที่ดีและน่าสนใจการ
ออกแบบฉากจึงทีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
1. เป็นสถานที่ไหน
2. เวลาใด
3. ในสถานที่นั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
แล้วจึงนำมาเป็นแนวทางในการวาดฉากประกอบเรื่อง
3. การเขียนสตอรี่บอร์ด (Story Board)
การเขียนสตอรี่บอร์ดคือการเขียน วาดภาพเพื่อถ่ายทอดจินตนาการจากบทการ์ตูน
ให้ออกมาเป็นลำดับภาพ ตั้งแต่ต้นจนจบให้เป็นรูปธรรม ซึ่งสตอรี่บอร์ดจะช่วยให้
ทีมงานทุกคนได้เห็นภาพรวมของการ์ตูนได้ตรงกันและชัดเจนมากที่สุด เมื่อเราเขียน
สตอรี่บอร์ดเสร็จแล้ว จะนำสตอรี่บอร์ดที่ได้ไปใช้ในขั้นตอนการทำการเคลื่อนไหว
ให้กับตัวละคร
กระดาษสตอรี่บอร์ดที่ใช้ในการเขียน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1. ส่วนแสดงข้อมูลเบื้องต้น เช่น ชื่อเรื่อง, ตอน, ฉาก , หน้า เป็นต้น
2. กรอบแสดงข้อมูลภาพ คือกรอบสำหรับวาดภาพ วางตำแหน่งของการ์ตูน
เปรียบเสมือนการวางมุมกล้องของภาพยนตร์ ในแต่ละกรอบเราจะเรียกว่า Shot
หมายถึงภาพยนตร์ตอนหนึ่ง
3. กรอบสำหรับกรอกข้อมูลเสียง คือกรอบที่บอกถึงข้อมูลเสียงที่จะใช้ใน Shot
นั้นๆ ว่ามีเสียงอะไรบ้าง เช่น เสียงบรรยาย , เสียงตัวละครพูด , เสียงเพลง ,
เสียงดนตรีบรรเลง เสียง Sound Effect (FX)
ขั้นตอนการเขียนสตอรี่บอร์ด มี 2 ขั้นตอนคือ
1. การวาดภาพสเกต วางตำแหน่งตัวละคร
2. เขียนบอกข้อมูลเสียงใน Shot นั้น
ตัวอย่างกระดาษสตอรี่บอร์ด


4. การพากย์เสียง เพื่อให้ได้การ์ตูนที่สมบูรณ์การพากย์เสียงที่เป็นธรรมชาติและสอดคล้อง
ไปกับสีหน้า ท่าทางของตัวละครก็จะทำให้ได้การ์ตูนที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น หลักในการ
พากย์เสียง มีคุณสมบัติของการพากย์เสียงที่ดีคือ
1. เสียงมีพลัง
2. ชัดถ้อยชัดคำโดยการเปล่งเสียงให้ถูกต้องตามอักขระ
3. พากย์เสียงตามคาแร็คเตอร์ของตัวละครและแสดงอารมณ์ต่างๆ ผ่านเสียงได้




ฟังเพลงได้ที่นี่นะคะ ^^











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น